Thursday, February 27

การเดินทางสู่โลกภายใน



หากเรามองว่าชีวิตคือการเดินทางที่ทำให้เราได้พบเจอสิ่งต่างๆที่ผ่านเข้ามาในชีวิต ทั้งที่เราชอบและไม่ชอบ ทั้งที่อยู่ในแผนและไม่ได้อยู่ในแผน ทั้งที่ได้ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ แม้เราจะอยู่กับที่ไม่ไปไหนก็ตาม ชีวิตก็ยังเคลื่อนมาหาเรา เหตุการณ์ต่างๆที่เกิดขึ้นไม่ใช่เหตุบังเอิญ หากเราจะลองคิดอย่างนั้นดู มันมีความหมายอะไรบางอย่างให้เราได้ค้นหาและเรียนรู้  

การเดินทางแต่ละครั้งจะมีความหมายต่อเราอย่างไรขึ้นอยู่กับว่าเรารับมันเข้ามาอย่างไร ในขณะที่เราเดิน ทางออกไปสู่โลกภายนอก มันก็เกิดการเดินทางภายในที่เต็มไปด้วยอารมณ์ และความรู้สึกนึกคิดต่างๆ เราจะเดินทางอย่างไรให้ได้พบกับสิ่งที่ล้ำค่าแก่ชีวิต นั่นคือจะได้ทั้งปัญญาและความรัก รวมถึงการเยียวยา กลับมาเติมเต็มให้ชีวิตเติบโตและงอกงาม 

ผมตั้งคำถามกับตัวเองมาตั้งแต่เด็กๆว่าชีวิตเรา เกิดมาเพื่ออะไร คำถามนี้มันอยู่ในใจเรื่อยๆ ไม่มีใครตอบให้ผมมั่น ใจได้สักคนว่าเราเกิดมาทำไม จนผมต้องออกเดินทางเพื่อหาคำตอบเองผ่านการบวช การเดินทางไกล การปฏิบัติใน รูปแบบต่างๆ หรือแม้แต่การทำงานและการมีครอบครัว แต่ละช่วงของชีวิตช่วยก่อประกอบ จิ๊กซอชีวิตให้เป็นภาพ ความเข้าใจที่ละเอียดประณีตมากขึ้นเรื่อยๆ  ผมคงไม่หวังให้ภาพความเข้าใจสมบูรณ์ เมื่อการเดินทางและ ค้นพบ ชิ้นส่วนชีวิตแต่ละส่วนนำมาซึ่งความพึงพอใจ การเดินทางของผมก็มีความรื่นรมย์อยู่ในตัว โดยไม่ต้องรอ คอยผลลัพธ์อันสมบูรณ์ที่ดูจะเป็นเป้าหมายสุดท้ายของการเดินทาง ที่จะทำให้ผมได้ความเข้าใจว่าชีวิต คืออะไรแล้วเราจะดำรงอยู่เพื่ออะไร 

ผมอยากจะแบ่งปันเรื่องเล่าที่มีอิทธพลกับผมมากเรื่องหนึ่ง เป็นเรื่องเล่าที่โบราณเก่าแก่ที่สะท้อนการแสวงหา ของมนุษย์เพื่อให้ได้มาซึ่งปัญญาญาณที่จะเติมเต็มชีวิตให้สมบูรณ์และเปี่ยมพลังของความสุขและความเข้าใจ ด้วยหวังว่าในยุคที่เรามั่งคั่งไปด้วยทรัพย์สินเงินทอง ทางเลือกและเทคโนโลยีที่อำนวยความสะดวกทางกาย เราจะยังไม่หลงลืมการเดินทางด้านในที่เป็นเรื่องทางใจอันอยู่นอกเหนือเขตแดนของวัตถุสิ่งของ ซึ่งเป็นการเดินทาง ที่รอคอยเราอยู่ เมื่อถึงวาระเราก็จะได้ยินเสียงเรียกร้องจากภายในตัวเราเอง อาจเป็นเสียงของความเบื่อหน่าย ความท้อแท้ไร้ แรงบันดาลใจ อิดหนำรำคาญกับชีวิตที่วนเวียนแต่เรื่องเดิมๆซ้ำแล้วซ้ำเล่า วังวนชีวิตที่หาทาง ออกไม่พบ เรื่องก็มีอยู่ว่า

กาลครั้งหนึ่งนานมาแล้ว ยังมีเจ้าหนูตัวหนึ่ง มันยุ่งอยู่กับการเสาะหาอาหารทุกที่ อาศัยหนวดและ จมูกที่ไวไว ดมนั่นดมนี่ไปทั่ว ตามพุ่มหญ้าและซอกดิน ไม่ต่างจากหนูทั่วไปนั่นแหล่ะ ที่มีชีวิตง่วนอยู่กับ กิจธุระแบบหนูๆ แต่แล้วมันเริ่มได้ยินเสียงแปลกๆ.. มันจะเชิดหัวขึ้นสูงแล้วเพ่งมองไปรอบๆ แถมยังขยับหนวด ขยุกขยิกเพื่อหาว่าเสียงนี้มาจากไหนนะ แล้วมาวันหนึ่งมันทนไม่ได้เลย กระโดดเข้าไปถามเพื่อนหนูที่อยุ่ใกล้ๆว่า "นี่ๆ นายได้ยินเสียงอะไรในหูบ้างไหม พี่ชายที่รัก”   
ไม่ได้ยินอะไรเลย" หนูอีกตัวตอบไปพร้อมกับยังคงง่วนอยู่กับการเอาจมูกคุ้ยหาเศษอาหารตามพื้นดิน "ฉันไม่เห็นจะได้ยินอะไรเลย ตอนนี้กำลังยุ่งอยู่พอดี ไว้ค่อยคุยกันใหม่นะ" เจ้าหนูน้อยก็ถามหนูอีกตัวด้วย คำถามเดียวกัน และได้รับคำตอบว่า "เธอบ้าไปแล้วเหรอ เสียงอะไรกันเล่า?" แล้วก็หายเข้าไปในรูของต้นฝ้าย ที่ล้มนอนอยู่เจ้าหนูน้อยของเราเลยขยับหนวดเล็กน้อยแล้วกลับไปทำตัวให้ยุ่งต่อและพยายามลืมเรื่องพรรณนี้เสีย แต่แล้วมันก็ได้ยินเสียงก้องคำรามนั้นอีก 
คราวนี้มันเบามากๆ แต่ก็ยังพอได้ยินได้มาวันหนึ่ง มันตัดสินใจสืบหาที่มาของเสียงนี้อีกครั้งหนึ่ง โดยผละตัวออกมาจากพวกหนูตัวอื่นๆที่ยุ่งกับการหาอาหารอยู่ แล้วมันก็ได้ยินเสียงนี้อีก ทีนี้มันพยายามให้ ถนัดถนี่หน่อย จนได้ยินเสียงทักของใครสักคน "หวัดดี""หวัดดีน้องชาย" เสียงนั้นดังขึ้นมาอีก จนเจ้าหนูน้อย ตกใจแทบกระโจนหนี ขนหัวลุก งอหลังและหางของมันเพื่อเตรียมวิ่งหนี     “หวัดดี ฉันคือพี่แรคคูนไงล่ะแรคคูนโผล่มาจริงๆนั่นแหล่ะ    เจ้ามาทำอะไรทำอะไรแถวนี้ล่ะ เจ้าน้องชาย?” แรคคูนถาม

เจ้าหนูน้อยหน้าแดงเล็กน้อยแล้วก้มหัวลงพื้นจนจมูกแทบติดดิน  คือฉันได้ยินเสียงก้องกังวานในหูก็เลยมาหาดูว่ามาจากไหนน่ะหนูตอบอย่างไม่แน่ใจนัก เสียงแว่วในหูเหรอ?” แรคคูนถามในขณะที่นั่งลงใกล้ๆ เจ้าน้องชาย เสียงที่เจ้าได้ยินน่ะคือเสียงของแม่นำ้นั่นเอง”  


แม่น้ำเหรอ แม่น้ำอะไรเหรอ?” เจ้าหนูถามด้วยความสงสัย 
เดินตามฉันมาสิ เดี๋ยวจะพาไปดูแม่น้ำแรคคูนกล่าว  

เจ้าหนูน้อยรู้สึกหวั่นๆแต่ก็อยากจะรู้ให้ได้ว่าเสียงแว่วนั้นมันคืออะไรกัน แล้วฉันก็จะได้กลับไปทำงานซะทีมันคิดใจใจ 
แล้วถ้าได้รู้ล่ะก็ มันอาจจะช่วยฉันทำมาหากินและสะสมอาหารก็เป็นได้ พวกพี่ๆหนูทั้งหลายที่บอกว่าไม่มีอะไรจะได้เห็นกันซะที ฉันจะพิสูจน์ให้พวกเขาได้เห็นสิ่งที่ฉันได้ยิน ฉันจะขอให้แรคคูนกลับไปหมู่บ้านกับฉันแล้วยืนยันว่าฉันมีหลักฐานเป็นเรื่องเป็นราวมันคิดในใจ

ได้เลย พี่แรคคูน ช่วยพาฉันไปที่แม่น้ำหน่อยสิ ฉันจะเดินตามพี่ไปนะเจ้าหนูว่าอย่างนั้น ในขณะที่เจ้าหนูน้อยเดินตามหลักแรคคูนไป หัวใจเล็กๆของมันเต้นรัวในอกน้อยๆของมัน แรคคูนพาเดินลัดเลาะไปตามทางที่มันไม่เคยไปมาก่อนเลย เจ้าหนูน้อยสูดดมกลิ่นแปลกๆใหม่ๆ ที่ไม่เคยได้กลิ่นมาก่อนตามทางที่ผ่าน บางช่วงมันรู้สึกกลัวจนแทบอยากหันหลังกลับ

ในที่สุดพวกเขาก็มาถึงแม่น้ำ มันกว้างใหญ่มหาศาลอย่างไม่น่าเชื่อ บางช่วงก็ลึกและใส บางช่วงก็ดูทะมึนๆ มันกว้างใหญ่มากจนเจ้าหนูน้อยมองไม่เห็นอีกฝั่งของแม่น้ำเลย  แม่น้ำส่งเสียงกรรโชกไหล ร้องร่ำ ฮัมเพลงแห่งธารา สาดโถมโหมกระหน่ำ เจ้าหนูน้อยสังเกตเห็นของที่ลอยไปตามน้ำมีทั้งชิ้นเล็กและชิ้นใหญ่ 

โอ้โห มันใหญ่มากเลยนะเนี่ยเจ้าหนูน้อยอุทานออกมาอย่างไม่รู้จะหาคำพูดอะไรแทนได้
ใช่ มันเป็นสิ่งที่ยิ่งใหญ่มาก  แต่เดี๋ยวนะ ฉันอยากแนะนำให้เจ้ารู้จักเพื่อนคนหนึ่งนะแรคคูณตอบ
ในที่ๆน้ำตื้นและเรียบสงบมีใบบัวสีเขียวลอยอยู่ บนใบบัวมีกบตัวหนึ่งสีเขียวเหมือนกับใบบัวที่มันนั่งอยู่ ท้องกบเป็นสีขาวเด่นชัด    “หวัดดีน้องชายกบทัก ยินดีต้องรับสู่แม่น้ำ



ฉันต้องไปแล้วล่ะแรคคูนขัดจังหวะ แต่ไม่ต้องกลัวหรอกนะน้องชาย กบเขาจะดูแลเธอต่อเองว่าแล้วเจ้าแรคคูนก็เดินจากไป มันเดินไปตามตลิ่งริมน้ำเพื่อหาอาหารกิน เจ้าหนูน้อยค่อยๆเดินเข้าไปใกล้ๆแม่น้ำแล้วชะโงกมองไปที่น้ำแล้วเห็นเงาสะท้อนของหนูที่ดูกลัวๆอยู่บนน้ำ

เจ้าคือใครน่ะ?” หนูน้อยถาม เจ้าไม่กลัวที่ต้องออกมาอยู่แถวแม่น้ำที่ยิ่งใหญ่และไกลจากบ้านขนาดนี้หรือไง?” 

ไม่กบตอบ ฉันไม่กลัวหรอก ฉันได้รับของขวัญมาตั้งแต่ตอนเกิดให้สามารถอยู่ทั้งเหนือน้ำและในน้ำได้ ในยามที่เหมันตบุรุษมาเยือนและแช่แข็งษมาเยือนและแช่แข็งพลังวิเศษนี้ ก็จะไม่มีใครมองเห็นฉัน  แล้วอีกไม่นานเมื่อนกสายฟ้าบินมาเยือน ฉันก็กลับมาอยู่ที่นี่อีกครั้ง ถ้าอยากจะมาเยี่ยมเยี่ยนฉันล่ะก็ เธอต้องมายามที่ฤดูกาลเป็นสีเขียวนะ น้องชายที่รักฉันคือผู้ปกปักษ์น้ำ

น่าทึ่งจังเจ้าหนูน้อยพูดออกมาอย่างแทบจะพูดไม่ถูก    เธออยากได้รับพลังวิเศษบ้างไหม?” กบถาม
พลังวิเศษเหรอ? ฉันน่ะเหรอ?” เจ้าหนูน้อยถาม อยากได้สิ ถ้าเป็นไปได้นะ” 

ถ้าอย่างนั้นหมอบลงให้ต่ำเท่าที่จะต่ำได้ แล้วกระโดดให้สูงที่สุดเท่าที่เธอจะทำได้ แล้วเธอจะได้พลังวิเศษเองกบบอก หนูน้อยทำตามที่กบบอก มันหมอบตัวลงต่ำที่สุดเท่าที่จะทำได้แล้วกระโดด ตอนนั้นตาของมันก็มองเห็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์  หนูน้อยไม่อยากจะเชื่อในสิ่งที่ตัวเองเห็นเลย แต่มันก็ได้เห็นแล้ว แต่แล้วมันก็ตกลงมาบนพื้นและหล่นลงไปในน้ำ!   เจ้าหนูน้อยตกใจตื่นกลัวตะเกียกตะกายกลับเข้าฝั่ง ตัวมันเปียกปอนไปหมดและสั่นราวกับจะตาย

เธอหลอกฉันหนูน้อยตะโกนว่ากบ  เดี๋ยวก่อนกบบอก เธอไม่ได้บาดเจ็บอะไรเลยนี่ อย่าปล่อยให้ความกลัวและความโกรธบดบังตาเธอเองเลย เมื่อกี้เธอเห็นอะไรล่ะ?” 

ฉะ..ฉันหนูพูดอย่างตะกุกตะกัก “..เห็นภูเขาศักดิ์สิทธิ์”    “และเธอก็ได้ชื่อใหม่แล้วกบบอก นั่นคือชื่อ หนูกระโดด

(จบตอนแรก)



Wednesday, February 26

เส้นทางเดินของผู้กล้า



ในการแสวงหาเส้นทางเดินแห่งจิตวิญญาณ เราแต่ละคนล้วนมีเส้นทางของตัวเอง แม้ว่าศาสนาหรือผู้รู้จะได้แสดงให้เห็นว่าเส้นทางที่มีศาสดาทั้งหลายเดินมาก่อนหน้าเป็นอย่างไร และแม้เราจะยอมเดินตามด้วยความเคารพและจริงใจเพียงใด ภารกิจของเราเองคือการแสวงหา ด้วยตัวเราเอง เพื่อที่จะได้รู้อย่างประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง และนั่นอาจหมายถึงการลองเป็นตัว ของตัวเองที่เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและตัดสินโดยผู้คนในสังคม  จึงจำต้องอาศัยความกล้าหาญ และกำลังใจอย่างยิ่ง  และเมื่อเราค้นพบศักยภาพของที่เป็นดังขุมทรัพย์ภายในตัวเองได้ เราจะตอบแทนสังคมได้อย่างสมภาคภูมิ 

ผมขอยกงานเขียนของโจเซฟ แคมเบล นักตำนานวิทยาผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับการ แสวงหาทาง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย จากหนังสือ A Joseph Cambell Companion: Reflection of the Art of Living ที่เหมือนกับกลั่นกรองและสะกัดมาจากความเข้าใจในการแสวงหาของมนุษย์ที่เขา สั่งสมมาหลายสิบปี

อภิสิทธิ์อันสูงสุดของการมีชีวิตที่เราได้รับ อยู่คือการได้เป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ว่าคุณจะทำอะไร ก็ตาม จงทำมันราวกับเล่นชีวิตนั้นหามีความหมายใดๆ คุณนำความหมายมาใส่ให้ชีวิต ดังนั้นความหมาย ของชีวิตก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความหมายมันอย่างไร ความหมายของชีวิตก็คือการมีชีวิตอยู่
แนวทางของนักรบคือการกล่าวว่า ใช่กับชีวิต และ ใช่กับสิ่งทั้งมวล มีส่วนร่วมอย่างรื่นรมย์กับ ความโศรกเศร้าของโลก เราไม่สามารถเยียวยารักษาโลกแห่งความโศรกเศร้าแต่เราเลือกที่จะ มีชีวิตกับมันอย่างรื่นรมย์ได้เวลาเราพูดว่าจะจัดการคลี่คลายปัญหาของโลก เรากำลังเห่าหอน ต้นไม้ผิดต้น   โลกนี้สมบูรณ์ มันเต็มไปด้วยปฏิกูล และมันก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมา   
เราจะไม่เปลี่ยนมัน   หน้าที่ของเราคือการทำชีวิตของเราให้ดี เราต้องพร้อมที่จะสลัดแผนการของชีวิต ทิ้งไปเสีย เพื่อที่จะมี ชีวิตที่รอคอยเราอยู่ ผิวหนังแผ่นเดิมจำต้องหลุดลอก ออกไปก่อนที่ผิวหนัง ชุดใหม่จะเกิดขึ้น     หากเราพยายามแก้ไขแต่สิ่งเดิมๆ เราจะติดแหงก  เวลาเรายึดอยู่กับรูปแบบใดๆก็ตาม เรากำลังจะเสี่ยงต่อการผุพังลง   นรกก็คือชีวิตที่แห้งผาก  นักกักตุนในตัวเราช่างยึดติด และจำต้องถูกปลิดชีพลง เพราะหากเรายึกกุมอยู่กับรูปแบบที่เป็นอยู่ 
เราก็จะไม่มีรูปแบบอะไรใหม่ๆในชีวิต  คุณจะเจียวไข่โดยไม่ตอกไข่ให้แตกไม่ได้หรอก  ทำลายแล้วค่อยสร้างใหม่
เราสร้างอะไรไม่ได้เลยจากสิ่งที่สมบูรณ์แล้ว   ในทุกๆกระบวนการจะมีการแตกสลายของบางสิ่งเสมอ โลกจำต้องพังลงเพื่อนำชีวิตใหม่ให้ก่อเกิด     หากเมล็ดพันธุ์ไม่ยอมตายลง ก็จะไม่มีต้นไม้                         ขนมปังเป็นผลมาจากความตายของธัญพืช                                              ชีวิตดำรงอยู่บนชีวิตทั้งหลาย   ชีวิตของเราอยู่ได้ด้วยการกระทำของผู้อื่น หากคุณอยากทำให้ชีวิตน่าอยู่ คุณจำต้องรับมันให้ได้
จริงๆแล้วเรามีชีวิตอยู่เพื่อจะได้สัมผัสถึงประสบการณ์ของชีวิตที่มีทั้งความเจ็บปวดและความสุขสันต์ โลกที่เป็นอยู่เหมาะกับเราเป๊ะ และเราเองก็เหมาะเจาะกับโลกนี้มาก โอกาสในการค้นพบพลังชีวิตที่ลำ้ลึกภายในตัวเองจะมาถึงเมื่อชีวิตเผชิญกับอุปสรรคที่ท้าทาย การปฏิเสธความเจ็บปวดและมรสุมของชีวิตคือการปฏิเสธชีวิต เรายังมาไม่ถึงเลยหากเรายังไม่สามารถกล่าวคำว่า ได้เลยกับทุกสิ่งทุกอย่าง 
การมีอยากเป็นฝ่ายถูกกับเรื่องราวใดๆก็ตาม คือการปรักปรำสิ่งนั้น ความฉงนฉงายและอัศจรรย์ใจต่างหากที่จะนำเราไปข้างหน้า   ขณะที่คุณใช้ชีวิตไปตามวิถีทางของคุณ หากนกขี้ใส่ก็อย่าได้เสียเวลากับการเช็ดมันออก การหาแง่มุมอันน่าขันให้กับสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่จะช่วยเพ่ิมระยะทางทางจิตวิญญาณเพิ่ม อารมณ์ขันจะปกปักษ์รักษาคุณ  
จงดำเนินรอยไปตามความสุขอันลึกซึ้งที่เกิดแต่ภายใน ชีวิตของผู้กล้าคือการมีชีวิตอย่างผจญภัยตามลำพัง  ในการเดินรอยตามเสียงเรียกสู่การผจญภัย มันจะไม่มีความปลอดภัยหรือมั่นคงใดๆ ถ้าคุณรู้ว่าผลลัพธ์ปลายทางคืออะไร ก็จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นอีกต่อไป
การปฏิเสธเสียงเพรียกภายในก็คืออาการเน่าบูดของชีวิต  หากคุณมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับสิ่งใด คุณก็จะประสบกับแง่ร้ายของสิ่งนั้น ดังคุณเดินเข้าป่าในห้วงยามที่มืดมิดที่สุดและมันก็ไม่มีทางเดิน          เพราะหากมันมีทางเดินไว้ให้แล้ว มันก็เป็นเส้นทางของผู้อื่น  มันไม่ใช่เส้นทางของคุณ หากคุณเดินตามเส้นทางของคนอื่น 
คุณก็จะไม่อาจบรรลุถึงศักยภาพในตัวคุณเอง   เวลาอันเป็นนิรันดร์คือที่นี่และเดี๋ยวนี้                                                   สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดำรงอยู่ในตัวคุณ   จงใช้ชีวิตจากแกนภายในของคุณเอง
ภารกิจอันแท้จริงของคุณคือการออกไปจากสังคมของคุณเพื่อค้นหาความสุขอันลึกล้ำ สังคมกลายเป็นศัตรูเมื่อสังคมยัดเยียดกรอบของมันให้ผู้คน   มังกรมีเกล็ดมากมาย ทุกคนต่างพูดคล้ายกันว่า คุณควรจะ…”  ฆ่ามังกรตัวนี้ทิ้งไปเสีย ใครก็ตามที่ฆ่ามังกรตัวนี้ลงได้ก็จะกลายเป็นเด็ก การแหกคอกคือการดำเนินไปตามความสุขอันลึกซึ้ง  เลิกราจากสถานที่เก่าๆเดิมๆ เริ่มต้นออกเดินทางของคุณเองเยี่ยงผู้กล้า ไปตามสัญญาณแห่งปีติภายใน คุณทิ้งสิ่งเก่าๆไปเมื่อวานราวกับงูลอกคราบ
เป้าหมายของการเดินทางของผู้กล้าที่ดิ่งลงสู่ขุมทรัพย์คือการค้นหาระดับต่างๆของจิตที่เปิดกว้าง เปิด เปิด เปิดและในที่สุดก็เปิดรับ ความลี้ลับแห่งธรรมชาติยิ่งใหญ่ภายในตัวคุณ  ไม่ว่าธรรมชาติที่ว่าคือความเป็นพุทธะหรือพระคริสตร์ก็ตาม
นี่คือ การเดินทาง

หมายเหตุ  

โจเซฟ แคมเบลนักตำนานวิทยาชาวอเมริกันผู้ที่ได้ทุ่มเทชีวิตให้กับการค้นคว้าและศึกษาตำนาน ของวัฒนธรรม ต่างๆของมนุษย์ได้มองเห็นเส้นทางการเดินทางจิตวิญญาณมนุษย์ที่หลากหลายต่างๆ ได้อธิบายให้เห็นถึงแรงปรารถนา ของมนุษย์ใน การแสวงหาความหมาย ความจริง อิสรภาพและ และศักยภาพอันสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และมีอิทธพลต่อคนสำคัญ ในวงการศิลปะ อย่างจอร์จ ลูคัส ผู้สร้างหนังเรื่องสตาร์วอร์ส  หนังสือที่แคมเบลเขียนและมีชื่อเสียงอย่างยิ่งคือ The Hero of a Thousand Faces และ The Power of Myths
เส้นทางเดินของผู้กล้า


ในการแสวงหาเส้นทางเดินแห่งจิตวิญญาณ เราแต่ละคนล้วนมีเส้นทางของตัวเอง แม้ว่าศาสนาหรือผู้รู้จะได้แสดงให้เห็นว่าเส้นทางที่มีศาสดาทั้งหลายเดินมาก่อนหน้าเป็นอย่างไร และแม้เราจะยอมเดินตามด้วยความเคารพและจริงใจเพียงใด ภารกิจของเราเองคือการแสวงหา ด้วยตัวเราเอง เพื่อที่จะได้รู้อย่างประจักษ์แจ้งด้วยตัวเอง และนั่นอาจหมายถึงการลองเป็นตัว ของตัวเองที่เสี่ยงต่อการถูกกล่าวหาและตัดสินโดยผู้คนในสังคม  จึงจำต้องอาศัยความกล้าหาญ และกำลังใจอย่างยิ่ง  และเมื่อเราค้นพบศักยภาพของที่เป็นดังขุมทรัพย์ภายในตัวเองได้ เราจะตอบแทนสังคมได้อย่างสมภาคภูมิ 
ผมขอยกงานเขียนของโจเซฟ แคมเบล นักตำนานวิทยาผู้สร้างแรงบันดาลใจให้กับการ แสวงหาทาง จิตวิญญาณแห่งยุคสมัย จากหนังสือ A Joseph Cambell Companion: Reflection of the Art of Living ที่เหมือนกับกลั่นกรองและสะกัดมาจากความเข้าใจในการแสวงหาของมนุษย์ที่เขา สั่งสมมาหลายสิบปี
อภิสิทธิ์อันสูงสุดของการมีชีวิตที่เราได้รับ อยู่คือการได้เป็นสิ่งที่เราเป็นไม่ว่าคุณจะทำอะไร ก็ตาม จงทำมันราวกับเล่นชีวิตนั้นหามีความหมายใดๆ คุณนำความหมายมาใส่ให้ชีวิต ดังนั้นความหมาย ของชีวิตก็ขึ้นอยู่กับว่าคุณให้ความหมายมันอย่างไร ความหมายของชีวิตก็คือการมีชีวิตอยู่
แนวทางของนักรบคือการกล่าวว่า ใช่กับชีวิต และ ใช่กับสิ่งทั้งมวล มีส่วนร่วมอย่างรื่นรมย์กับ ความโศรกเศร้าของโลก เราไม่สามารถเยียวยารักษาโลกแห่งความโศรกเศร้าแต่เราเลือกที่จะ มีชีวิตกับมันอย่างรื่นรมย์ได้เวลาเราพูดว่าจะจัดการคลี่คลายปัญหาของโลก เรากำลังเห่าหอน ต้นไม้ผิดต้น   โลกนี้สมบูรณ์ มันเต็มไปด้วยปฏิกูล และมันก็เป็นเช่นนี้เรื่อยมา   
เราจะไม่เปลี่ยนมัน   หน้าที่ของเราคือการทำชีวิตของเราให้ดี เราต้องพร้อมที่จะสลัดแผนการของชีวิต ทิ้งไปเสีย เพื่อที่จะมี ชีวิตที่รอคอยเราอยู่ ผิวหนังแผ่นเดิมจำต้องหลุดลอก ออกไปก่อนที่ผิวหนัง ชุดใหม่จะเกิดขึ้น     หากเราพยายามแก้ไขแต่สิ่งเดิมๆ เราจะติดแหงก เวลาเรายึดอยู่กับรูปแบบใดๆก็ตาม เรากำลังจะเสี่ยงต่อการผุพังลง    นรกก็คือชีวิตที่แห้งผาก  นักกักตุนในตัวเราช่างยึดติด และจำต้องถูกปลิดชีพลง  เพราะหากเรายึกกุมอยู่กับรูปแบบที่เป็นอยู่ 
เราก็จะไม่มีรูปแบบอะไรใหม่ๆในชีวิต คุณจะเจียวไข่โดยไม่ตอกไข่ให้แตกไม่ได้หรอก  ทำลายแล้วค่อยสร้างใหม่
เราสร้างอะไรไม่ได้เลยจากสิ่งที่สมบูรณ์แล้ว   ในทุกๆกระบวนการจะมีการแตกสลายของบางสิ่งเสมอ โลกจำต้องพังลงเพื่อนำชีวิตใหม่ให้ก่อเกิด     หากเมล็ดพันธุ์ไม่ยอมตายลง ก็จะไม่มีต้นไม้                         ขนมปังเป็นผลมาจากความตายของธัญพืช   ชีวิตดำรงอยู่บนชีวิตทั้งหลาย   ชีวิตของเราอยู่ได้ด้วยการกระทำของผู้อื่น หากคุณอยากทำให้ชีวิตน่าอยู่ คุณจำต้องรับมันให้ได้
จริงๆแล้วเรามีชีวิตอยู่เพื่อจะได้สัมผัสถึงประสบการณ์ของชีวิตที่มีทั้งความเจ็บปวดและความสุขสันต์ โลกที่เป็นอยู่เหมาะกับเราเป๊ะ และเราเองก็เหมาะเจาะกับโลกนี้มาก โอกาสในการค้นพบพลังชีวิตที่ลำ้ลึกภายในตัวเองจะมาถึงเมื่อชีวิตเผชิญกับอุปสรรคที่ท้าทาย การปฏิเสธความเจ็บปวดและมรสุมของชีวิตคือการปฏิเสธชีวิต เรายังมาไม่ถึงเลยหากเรายังไม่สามารถกล่าวคำว่า ได้เลยกับทุกสิ่งทุกอย่าง 
การมีอยากเป็นฝ่ายถูกกับเรื่องราวใดๆก็ตาม คือการปรักปรำสิ่งนั้น ความฉงนฉงายและอัศจรรย์ใจต่างหากที่จะนำเราไปข้างหน้า   ขณะที่คุณใช้ชีวิตไปตามวิถีทางของคุณ หากนกขี้ใส่ก็อย่าได้เสียเวลากับการเช็ดมันออก การหาแง่มุมอันน่าขันให้กับสถานการณ์ที่คุณเผชิญอยู่จะช่วยเพ่ิมระยะทางทางจิตวิญญาณเพิ่ม อารมณ์ขันจะปกปักษ์รักษาคุณ  
จงดำเนินรอยไปตามความสุขอันลึกซึ้งที่เกิดแต่ภายใน ชีวิตของผู้กล้าคือการมีชีวิตอย่างผจญภัยตามลำพัง ในการเดินรอยตามเสียงเรียกสู่การผจญภัย มันจะไม่มีความปลอดภัยหรือมั่นคงใดๆ ถ้าคุณรู้ว่าผลลัพธ์ปลายทางคืออะไร ก็จะไม่มีอะไรน่าตื่นเต้นอีกต่อไป
การปฏิเสธเสียงเพรียกภายในก็คืออาการเน่าบูดของชีวิต  หากคุณมีประสบการณ์ที่ไม่ดีกับสิ่งใด คุณก็จะประสบกับแง่ร้ายของสิ่งนั้น ดังคุณเดินเข้าป่าในห้วงยามที่มืดมิดที่สุดและมันก็ไม่มีทางเดิน          เพราะหากมันมีทางเดินไว้ให้แล้ว มันก็เป็นเส้นทางของผู้อื่น มันไม่ใช่เส้นทางของคุณ หากคุณเดินตามเส้นทางของคนอื่น 
คุณก็จะไม่อาจบรรลุถึงศักยภาพในตัวคุณเอง เวลาอันเป็นนิรันดร์คือที่นี่และเดี๋ยวนี้                                                       สิ่งศักดิ์สิทธิ์ดำรงอยู่ในตัวคุณ   จงใช้ชีวิตจากแกนภายในของคุณเอง

ภารกิจอันแท้จริงของคุณคือการออกไปจากสังคมของคุณเพื่อค้นหาความสุขอันลึกล้ำ สังคมกลายเป็นศัตรูเมื่อสังคมยัดเยียดกรอบของมันให้ผู้คน มังกรมีเกล็ดมากมาย ทุกคนต่างพูดคล้ายกันว่า คุณควรจะ…”   ฆ่ามังกรตัวนี้ทิ้งไปเสีย ใครก็ตามที่ฆ่ามังกรตัวนี้ลงได้ก็จะกลายเป็นเด็ก การแหกคอกคือการดำเนินไปตามความสุขอันลึกซึ้ง เลิกราจากสถานที่เก่าๆเดิมๆ เริ่มต้นออกเดินทางของคุณเองเยี่ยงผู้กล้า ไปตามสัญญาณแห่งปีติภายใน คุณทิ้งสิ่งเก่าๆไปเมื่อวานราวกับงูลอกคราบ

เป้าหมายของการเดินทางของผู้กล้าที่ดิ่งลงสู่ขุมทรัพย์คือการค้นหาระดับต่างๆของจิตที่เปิดกว้าง เปิด เปิด เปิดและในที่สุดก็เปิดรับ ความลี้ลับแห่งธรรมชาติยิ่งใหญ่ภายในตัวคุณ ไม่ว่าธรรมชาติที่ว่าคือความเป็นพุทธะหรือพระคริสตร์ก็ตาม นี่คือ การเดินทาง



หมายเหตุ  
โจเซฟ แคมเบลนักตำนานวิทยาชาวอเมริกันผู้ที่ได้ทุ่มเทชีิวิตให้กับการค้นคว้าและศึกษาตำนาน ของวัฒนธรรม ต่างๆของมนุษย์ได้มองเห็นเส้นทางการเดินทางจิตวิญญาณมนุษย์ที่หลากหลายต่างๆ ได้อธิบายให้เห็นถึงแรงปรารถนา ของมนุษย์ใน การแสวงหาความหมาย ความจริง อิสรภาพและ และศักยภาพอันสูงสุดของการเกิดมาเป็นมนุษย์ และมีอิทธพลต่อคนสำคัญ ในวงการศิลปะ อย่างจอร์จ ลูคัส ผู้สร้างหนังเรื่องสตาร์วอร์ส  หนังสือที่แคมเบลเขียนและมีชื่อเสียงอย่างยิ่งคือ The Hero of a Thousand Faces และ The Power of Myths

Tuesday, October 20

สนทนาคาเฟ่


เดี๋ยวจะหาว่าไม่ค่อยได้อัพเรื่องราว ตอนนี้ผมใช้เฟสบุคเยอะมาก เพราะแสนง่ายดาย เชื่อมโยงกันง่ายจริงๆ
ถ้าใครยังไม่ได้มีaccount ก็รีบมีเสีย จะได้ไม่ตกข่าวครับ ส่วนภาพข้างบนนี้คือสมาชิกขวัญแผ่นดินครับ ถ่ายเมื่อเดือนสิงหาคม 2552 ที่บ้านครูส้ม เชียงราย


ส่วนที่โพสตรงนี้ เป็นเรื่องราวที่ลงกรุงเทพธุรกิจ ที่ผมให้สัมภาษณ์ไปเมื่อสองสัปดาห์่ก่อน ถ้าอยากอ่านที่เวบไซด์เขาเลยก็ดูได้ที่
http://www.bangkokbiznews.com/home/detail/life-style/hi-life/20091008/80524/คาเฟ่-สนทนา.html

บทความโดย
เพ็ญลักษณ์ ภักดีเจริญ

ณัฐฬส วังวิญญู นักกิจกรรมเพื่อสังคม และวิทยากรอบรมกระบวนการเรียนรู้ สถาบันขวัญแผ่นดิน เล่าถึงวงสนทนาง่ายๆ ที่คนในสังคมไทยอาจมองข้าม

สุนทรียสนทนาไม่ใช่แค่การพูดคุยสนุกๆ เหมือนวงสนทนาทั่วไป แต่มีวิธีการพูดคุยเพื่อเผยความรู้สึกด้านใน แล้วจะมีประโยชน์อันใดกับชีวิต มาเปิดคาเฟ่คุยกันตรงนี้ดีกว่า...

ดื่มคาปูชิโนอุ่นๆ พร้อมเรื่องเล่าจากหัวใจในคาเฟ่เล็กๆ ของคุณย่าวัย 83 ปีในซานฟรานซิสโก อเมริกา เธอให้โอกาสคนที่แวะเวียนผ่านมาดื่มกาแฟ นั่งคุยเปิดพื้นที่ของหัวใจทุกวันอาทิตย์...

ณัฐฬส วังวิญญู นักกิจกรรมเพื่อสังคม และวิทยากรอบรมกระบวนการเรียนรู้ สถาบันขวัญแผ่นดิน เล่าถึงวงสนทนาง่ายๆ ที่คนในสังคมไทยอาจมองข้าม เพราะการพูดคุยลักษณะนี้เป็นการเรียนรู้การฟังกันอย่างลึกซึ้งและเรียนรู้ที่จะเข้าใจผู้อื่นและตัวเอง

“คุณรู้ไหม คาเฟ่บางแห่งในอเมริกาทำแบบนี้ คุณย่าเจ้าของร้านกาแฟที่ผมเล่าให้ฟัง เชิญให้ทุกคนที่เข้ามาวันอาทิตย์นั่งลง ดื่มกาแฟ แนะนำตัว มีป้ายวางบนโต๊ะว่า หนึ่ง...เราจะฟังกันอย่างลึกซึ้ง สอง...เราจะไม่ด่วนตัดสิน สาม...เราจะพูดเยิ่นเย้อกินพื้นที่ สี่...เราจะสนใจเรื่องที่พูดและรู้สึกต่อเรื่องนั้นจริงๆ” ณัฐฬส เล่าและมีเพื่อนที่ผ่านมาขอร่วมวงสุนทรียสนทนาในการสัมภาษณ์ด้วย เธอบอกว่า ทุกวันนี้มีคลับหรือชมรมเยอะขึ้น หรือการไปแดนซ์กลางคืน เพราะเราต้องการสังคม แต่เราไปยึดอย่างอื่นที่ไม่ใช่ด้านในตัวเอง

“ต้องหาที่ให้คนในสังคมยืน มีคนสนใจเรื่องพวกนี้นะ เพราะคนต้องการหาผู้ฟังเวลาพูด”

เหมือนเช่นที่เชียงรายมีกลุ่มวงน้ำชาของกลุ่มนักกิจกรรมสังคม เชื้อเชิญคนเชียงรายมาร่วมวง ณัฐฬสเองก็มีร้านหนังสือเอกเขนกของตัวเองในเชียงราย เป็นการทดลองเล็กๆ มีมุมกาแฟ มีที่นั่งเล่น

“ร้านหนังสือส่วนใหญ่เอาหนังสือล่อให้คนมาซื้อ แต่ผมเอาหนังสือล่อให้คนมาเจอกัน ต้องเข้าใจก่อนว่า กระบวนการเรียนรู้มีหลายวิธี มนุษย์เรียนรู้ตลอดเวลา สิ่งที่สำคัญไม่ใช่ตัวเราอย่างเดียว แต่เป็นคนในวงสนทนา คำตอบอยู่ที่ตัวเรา ไอเดียและคำพูดจากวงสนทนานำไปพัฒนาตัวเองได้”

พื้นที่ปลอดภัยในการพูดคุย

ไม่ว่าคุณจะเป็นผู้บริหารระดับสูงหรือคนงานเล็กๆ เมื่อล้อมวงพูดคุยกัน บรรยากาศก็จะดูสบายๆ ผ่อนคลาย ณัฐฬสจัดกระบวนการการเรียนรู้ด้านในมานานกว่า 8 ปี เขาบอกว่า เน้นการเรียนรู้โลกด้วยใจ บางครั้งไม่จำเป็นต้องใช้คำว่า สุนทรียะสนทนา เพราะคนทำกระบวนการ ต้องการให้คนเรากลับมารู้จักตัวเอง ทั้งร่างกาย ความรู้สึก ความสัมพันธ์กับคนอื่นและการใช้ชีวิตอย่างมีความหมาย

กระบวนการสุนทรียสนทนาหลักๆ คือ สร้างพื้นที่ที่ทำให้คนรู้สึกปลอดภัยต่อความไว้วางใจ คุยแบบเปิดใจร่วมทุกข์ ไม่ต้องแยกพรรคพวก

"ทำมา 7-8 ปี คนที่ไม่เคยคุยกันเลย แต่พอมาอยู่ในวงนี้ก็เปิดใจ เราไม่ได้เริ่มจากปัญหา แต่เริ่มจากเรื่องที่พวกเขารู้สึกดีๆ ไม่ว่าเรื่องราวการเดินทาง ชีวิตที่ผ่านมา การต่อสู้ ความสำเร็จเล็กๆ น้อยๆ คนที่มีบุญคุณกับเขา คนไม่ได้เรียนจบปริญญาตรีมักจะมีเรื่องราวต่างๆ ที่พอนึกถึงหรือเล่าออกมาแล้วจะรู้สึกดีๆ" ณัฐฬส เล่าถึงกระบวนการที่ไม่ได้เริ่มจากปัญหาคับข้องใจ

“บางคนทำงานด้วยกันกว่าสิบยี่สิบปี ไม่เคยคุยกันมาก่อน บางคนไม่รู้ว่าเพื่อนที่ทำงานมีพี่น้องกี่คน การเรียนรู้แบบนี้ เพื่อสร้างพื้นที่ปลอดภัยที่ต้องอาศัยพลังกลุ่มในการขับเคลื่อน เมื่อคนหนึ่งเริ่มเปิด อีกคนก็จะเปิดใจตาม”

กระบวนการสุนทรียสนทนา จึงไม่ใช่การอบรมโดยวิทยากรให้ความรู้เพียงอย่างเดียว แต่เป็นการแสดงความคิดและความรู้สึกร่วมกัน ไม่ตัดสินว่าใครผิดหรือถูก โดยมีวิทยากรคอยแนะนำในบางครั้ง

“ผมใช้คำว่าให้เกียรติกัน เพราะเวลาเราทำงานในองค์กร เราคาดหวังกันเยอะ แต่ไม่ค่อยให้เกียรติกัน และแนวคิดที่ว่าคุณค่าของคนอยู่ที่ผลของงานเป็นช่วงของการสร้างชาติ ทำให้คนเอาตัวเองไปฝากไว้ที่คุณค่าของงาน เราอยู่ในโลกที่เราต้องสัมพันธ์กัน เราต้องให้ค่ากัน เพราะเราเป็นมนุษย์ และไม่จำเป็นต้องสมบูรณ์แบบ มนุษย์มีความเก่งไม่เหมือนกัน บางคนก็ชุ่ย บางคนไม่ได้เรื่อง แล้วเราจะท้าทายความแตกต่างได้อย่างไร”

สิ่งที่ณัฐฬสย้ำคือ ต้องกล้ามองตัวเอง จริงๆ เราเปลี่ยนตัวเองได้ คนที่ชอบตำหนิคนอื่น ก็ไม่จำเป็นต้องมุ่งมั่นตำหนิคนตลอดเวลาเพราะความนเคยชิน

“เหมือนเราโตมากับค้อน ก็ใช้แต่ค้อนหรือ”

เรียนรู้อดีตเข้าใจตัวเอง

อดีตคือ รอยร้าวในใจที่ณัฐฬส เชื่อมโยงให้เห็นว่า ต้องเยียวยาอดีตก่อน วิธีการคือ ต้องรับรู้ว่าเกิดอะไรขึ้น เพื่อทำให้คนเห็นภาพตัวเอง หลายคนวิ่งหนีอดีต บางคนเป็นเด็กกำพร้า บางคนเพื่อนไม่ยอมรับ นำไปสู่ความรุนแรง

“ผลจากอดีตคือ การโทษตัวเอง โทษคนอื่น โทษพ่อแม่ อันนี้คือกรรมนะ แล้วเดี๋ยวนี้ภาษาคำว่าแก้กรรม เยอะมาก ถ้าคุณจะแก้กรรม ต้องเยียวยาอดีต แค่นั้นแหละคุณเปลี่ยนชีวิตได้”

การทำกระบวนการลักษณะนี้ต้องทำความเข้าใจกับหลักจิตวิทยา ศาสนา ศิลปะและการภาวนา ณัฐฬส บอกว่า คนบางส่วนไม่มีความเชื่อหรือศรัทธาใดๆ ต่อศาสนา เพราะคนสมัยนี้ไม่ได้สนใจที่จะฟังภาษาธรรม

"ต้องมีภาษาที่สื่อสารกับชีวิตเขาได้ ถ้าบอกว่าต้องมีศีล ต้องทำความดี แต่ผมอยากบอกว่า เรื่องเหล่านี้คนรู้อยู่แล้ว มันจะไม่ผลกระทบต่อเขา สิ่งที่มีผลกระทบคือสิ่งที่เขารู้สึก คนที่เขารัก ลูก และครอบครัว ถ้าคุณเปลี่ยนแปลงตัวเอง ทุกอย่างในชีวิตก็เปลี่ยน อีกอย่างการรับฟังไม่ใช่การเชื่อตาม เป็นการแชร์ความรู้สึก เป็นกระบวนการเรื่องเล่า คนที่มีเรื่องเล่าแบบเดิมๆ ก็สร้างสรรค์โลกแบบเดิมๆ"

และไม่ใช่ว่า ร่วมกระบวนการเรียนรู้ไม่กี่ครั้ง จะเปลี่ยนแปลงตัวเองได้ทันที กระบวนการทั้งหมดอยู่ที่การเรียนรู้ด้านในของแต่ละคนในการเปลี่ยนแปลงชีวิตให้ดีขึ้น

“ต้องสร้างสังฆะการสนทนาในองค์กรอย่างต่อเนื่องให้ได้ เพราะโลกของความทรงจำอยู่ในจิตไร้สำนึก เวลาดึงโลกของเราออกมา ส่วนใหญ่จะอยู่ในบทสนทนา” ณัฐฬส เล่าถึงการฝึกฝนตัวเองในลักษณะนี้ ต้องมีสติในการพิจารณา ถ้าเราเชื่อว่า เราทำได้ เราก็จะทำ แต่ถ้าเราเชื่อว่า เราทำไม่ได้ เราก็จะไม่ทำ

“หลายองค์กรที่ผมจัดกระบวนการเรียนรู้ให้ ยังไม่ค่อยประสบความสำเร็จในแง่ความยั่งยืน เพราะคิดว่า ทำเวิร์คชอปแล้วจะได้ผลทันที ทำเรื่องพวกนี้เหมือนการกินข้าว ต้องทำอยู่เรื่อยๆ”

แม้การจัดกระบวนการเรียนรู้ขององค์กรธุรกิจและองค์กรเพื่อสังคมจะต่างกัน แต่มนุษย์ก็คือมนุษย์ ต้องการชีวิตที่ดีไม่ต่างกัน

“ผมอยากจัดรีทรีทให้ครูมาวิเวกอยู่กับตัวเอง หนังสือเล่มหนึ่งที่ผมแปลตอนนี้เรื่อง 'กล้าสอน' คนแปลคนนี้เคยจัดรีทรีทให้ครูสามสิบคน สามเดือนครั้ง เป็นเวลาสองปี ปรากฏว่า จิตวิญญาณของครูกลับคืนมา การแลกเปลี่ยนความรู้สึกโลกภายในของครู พวกเขาได้ทั้งแรงบันดาลใจในการสอนและสร้างสรรค์ ซึ่งครูส่วนใหญ่ในอเมริกา เต็มไปด้วยเรื่องการเหยียดสีผิว อาวุธปืน ความรุนแรง ผมก็เลยบอกครูที่ผมไปจัดเวิร์คชอปว่า ผมอยากมาทำแบบนี้บ้าง” ณัฐฬส เล่า เพราะอาชีพครูสามารถสร้างผลกระทบให้กับคนในสังคมได้มาก

ล้วงลึกความเป็นมนุษย์

นอกจากแนวคิดเรื่องสุนทรียสนทนาที่ทำให้คนเมือง ทั้งองค์กรธุรกิจ องค์กรสาธารณสุข ครูสอนหนังสือแล้ว ณัฐฬส ยังมีแนวคิดเรื่องการจัดกระบวนการให้เยาวชนกระทำผิด

“ผมยังไม่ได้ทำงานกับเยาวชนกลุ่มนี้ เด็กส่วนใหญ่ทำไม่ดี เพราะต้องการการยอมรับ มีความเจ็บปวดและถูกบีบคั้น ต้องทำให้เขาให้อภัยตัวเองก่อน ส่วนใหญ่เยาวชนจะทำผิดเล็กๆ น้อยๆ ชกต่อย ลักเล็กขโมยน้อย ฆ่าคนมีน้อยมาก”

กระบวนการล้วงลึกความเป็นมนุษย์สามารถช่วยเยียวยาได้ ณัฐฬสเคยคุยกับคนทำงานในศาล ซึ่งเห็นด้วยกับงานของเขา เนื่องจากการจองจำเยาวชนที่ทำผิดต้องใช้งบประมาณปีหนึ่งกว่าสามหมื่นบาท ถ้าให้มาเข้าคอร์สเปลี่ยนแปลงตัวเองใช้งบประมาณไม่กี่พันบาท

เหมือนที่เกริ่นนำตั้งแต่แรกว่า ไม่ใช่วงสนทนาที่วิจารณ์ซึ่งกันและกัน แต่เป็นกระบวนการจากด้านใน มีช่วงของการภาวนา เพื่อเปิดพื้นที่ในหัวใจ ณัฐฬสบอกว่า ไม่ได้ต้องการให้พูดคุยธรรมดา แต่เป็นการพูดคุยล้วงลึกสืบค้นความเป็นมนุษย์ในตัวเรา ต้องอาศัยความกล้าและความสงบ

“เหมือนการภาวนาเพื่อให้เกิดการพูดจากข้างใน ซึ่งเราจะใช้ผัสสะทุกอย่าง ทั้งศิลปะ ดนตรี การวาดรูป ภาวนา และสมาธิ เพื่อให้เกิดความรู้สึก เพราะการเข้าสู่พื้นที่ในหัวใจ ไม่ได้ผ่านความรู้ ต้องผ่านความรู้สึก” ณัฐฬส บอกและให้เหตุผลว่า ชีวิตคนเราผ่านการเรียนรู้ภาคบังคับมาเยอะ

"ระบบการศึกษาถูกตั้งขึ้นมาเพื่อพัฒนามนุษย์ แต่ไม่ได้เริ่มต้นจากสิ่งที่เราเป็น มันฉุดกระชากวิญญาณ เลือกเฉพาะคนเก่ง มันทำลายจิตวิญญาณมนุษย์"

เพราะเขามีความเชื่อต่างจากคนในสังคม จึงมั่นใจว่า คนในสังคมสร้างสิ่งดีๆ ได้ จัดสรรสิ่งแวดล้อมให้ดีกับเพื่อนมนุษย์และธรรมชาติได้

“คนส่วนใหญ่ไม่เชื่อว่า เรามีส่วนในการเปลี่ยนแปลงสังคม แต่เชื่อตัวเองว่าหาเงินได้ ผมอยากเห็นสังคมที่เป็นเพื่อนกันและเคารพความเป็นมนุษย์”

...........................

หมายเหตุ : ทุกวันเสาร์ที่สามของเดือน จะมีการจัดกระบวนการเรียนรู้ด้านในหรือสุนทรียสนทนา ที่บ้านพักคริสเตียน ศาลาแดง โดยมีไอเดียเรื่องความสุขทางจิตใจ โดยไม่ต้องสร้างภาพหรือมีเป้าหมายเพื่อพิสูจน์ตัวเอง

Tags : คาเฟ่ สนทนา • ณัฐฬส วังวิญญู

Thursday, August 6

4-9 สิงหาคม ปาย แม่ฮ่องสอน



/Users/nutt/Pictures/iPhoto Library/Originals/2009/GC Meet 2009/DSC01663.jpg

ไม่ได้มาทักทายกันมานาน ช่วงที่ผ่านมาชีพจรลงเท้าออกนอกประเทศไปเกือบครึ่งเดือน แต่ก็ดีนะครับได้เปลี่ยนบรรยากาศออกจากห้องประชุมบ้าง
ไม่ได้เดินทางมานานเหมือนกัน นับตั้งแต่ไปเปรูเมื่อ ๒ ปีที่แล้ว คราวนี้ไปแค่ครึ่งโลกคืออเมริกา ได้ไปเจอเพื่อนเก่าๆที่มาจากกลุ่ม World Jam หลายคน เจอกันสี่สี่ห้าปีก่อนที่อินเดีย หรือไม่ก็ที่ เซเนกัล อัฟริกา เมื่อปี 2004

Saturday, May 16

เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร (ยกเว้นตัวเอง)




มติชนรายวัน : หนังสือพิมพ์คุณภาพ
เพื่อคุณภาพของประเทศ
www.matichon.co.th
วันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ. 2552 ปีที่ 32 ฉบับที่ 11389 มติชนรายวัน


เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงองค์กร (ยกเว้นตัวเอง)

คอลัมน์ จิตวิวัฒน์

โดย ณัฐฬส วังวิญญู สถาบันกาญาเพื่อการเรียนรู้ด้วยใจ, www.earth-soul.com www.thaissf.org แผนงานพัฒนาจิตเพื่อสุขภาพ มูลนิธิสดศรี-สฤษดิ์วงศ์ สนับสนุนโดย สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)





ขอถอดความจากข้อเขียนของ ปีเตอร์ เซ็งกี้ (Peter Senge) เรื่อง "เอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงตัวเอง" ว่า "หลังจากได้เฝ้าติดตามผลจากหนังสืออย่าง การเรียนรู้ในระดับองค์กร ของ อาร์กิริสและฌอน ในเรื่องการจัดการ ทำให้เห็นว่านี่ไม่ใช่เรื่องเล็กน้อยเลย นี่เป็นหนังสือแห่งประวัติศาสตร์เล่มหนึ่ง เรื่ององค์กรเรียนรู้ (Learning Organization) เป็นเรื่องที่กว้างและมีหลายชั้น การที่จะพลิกวิธีคิดและสร้างผลอย่างเป็นรูปธรรมในการจัดการต้องใช้เวลาพอควร ดังนั้น การบอกว่าผลลัพธ์จะเกิดจากปัจจัยอันใดอันหนึ่งนั้น นับว่าเป็นความเขลา ...ผมคิดว่าการประเมินผลในเรื่องนี้จำต้องใช้กรอบเวลาหลายชั่วรุ่น ดังนั้น ตอนนี้ยังถือว่าเร็วไปที่จะมีข้อสรุปในเชิงการฝึกปฏิบัติ"

ข้อคิดเห็นตรงนี้ ทำให้หลายคนรู้สึกได้ 2 อย่าง คือ "ร้อนใจ" ที่จะต้องใช้เวลามากมายถึง 3 ชั่วรุ่นในการสร้างองค์กรสายพันธุ์ใหม่ หรือสร้างวัฒนธรรมใหม่ที่ช่วยหล่อเลี้ยงบ่มเพาะมนุษย์ให้งอกงามและพัฒนาได้จริงๆ

แต่หากมองอีกแง่หนึ่ง ก็อาจทำให้หลายคนรู้สึก "วางใจ" ลงได้บ้าง และทำงานนี้ไปอย่างไม่ต้องรีบเร่งหรือร้อนรน เรียนรู้กับกระบวนการที่เกิดขึ้น แทนที่จะประหม่าวิตกว่า "ผลลัพธ์" จะออกมาอย่างไร

เพื่อนๆ ของผู้เขียนหลายคนหนักใจ ที่พอนำเอาแนวคิดเรื่องการฟื้นมิติของความเป็นมนุษย์กลับมาในองค์กรต่างๆ ก็เกิดอุปสรรค

เช่น เจ้านายถามว่าจะวัดผลอย่างไร หรือมองสิ่งเหล่านี้ว่าเป็น Soft Side หรือ "ด้านละมุน หน่อมแน้ม" แล้วเสียกำลังใจไปถึงขนาดเลิกล้มความตั้งใจ และกลับไปเป็นส่วนหนึ่งของ "องค์กรเครื่องจักร" แบบเสียมิได้ก็มีไม่น้อย

ทั้งที่จริงๆ แล้วผลที่เกิดขึ้นตรงหน้าจากการสร้างพื้นที่การเรียนรู้และเชื่อมสัมพันธ์กันระหว่างผู้คนในองค์กร นำมาซึ่งความจริงแท้ ปลอดภัย และกรุณาในองค์กรไม่มากก็น้อย และน่าจะเรียกการพัฒนาในมนุษย์นี้ว่าเป็น Heart Side หรือด้านที่เป็นหัวใจสำคัญของการพัฒนาองค์กรเสียด้วยซ้ำ

หากจะตั้งคำถามง่ายๆ ว่า กรอบเวลาสั้นไปอย่างนั้นหรือ?

ปีเตอร์กล่าวว่า "ขอให้ผมได้เริ่มโดยการขยายความจากที่กล่าวมาแล้ว ทำไมผมจึงกล่าวว่า 25 ปีนั้นสั้นไปสำหรับการประเมิลผลงานของอาร์กีริสและฌอน แน่นอน 25 ปีเป็นเวลาที่ยาวนานพอดู และคนส่วนมากก็จะคิดว่านี่เป็นเวลาที่มากเกินพอที่จะประเมินว่าความคิดใหม่ๆ อย่างนี้จะส่งผลสำเร็จหรือล้มเหลวในการใช้งานด้านการจัดการ แต่ทั้งหมดนี้ก็ขึ้นอยู่กับสาระสำคัญของความคิดนั้นด้วย

ประการแรก และก่อนอื่นเลย ผมถือว่าความคิดของอาร์กีริสและฌอนนั้นค่อนข้างจะพลิกแผ่นดินเอาการ ในแง่หนึ่ง พวกเขาจะตั้งเป้าหมายไว้ในเรื่องการพัฒนาประสิทธิภาพของการจัดการและองค์กร ซึ่งไม่ถือว่าเป็นเป้าหมายที่พลิกแผ่นดินอะไร แต่พวกเขากำลังชี้ไปที่ความสามารถชุดใหม่ของบุคลากรและความสัมพันธ์ในองค์กรแบบใหม่ ที่ขวางวิถีปฏิบัติอันเป็นวัฒนธรรมที่เป็นมาขององค์กรอย่างสิ้นเชิง"

คำว่าความสามารถชุดใหม่นี้ เป็นศักยภาพในการลงมือกระทำการ และเมื่อทำจนชำนาญแล้วก็จะกลายเป็นทักษะ เช่น การรับฟังทุกคนอย่างเคารพและให้ความเท่าเทียม เป็นต้น แต่สิ่งที่อยู่เบื้องหลังของการเลือกใช้ทักษะเหล่านี้คือ คุณค่าและความมุ่งมั่นในการฟื้นฟูความเป็นมนุษย์ในสังคมและองค์กร แม้ว่าหลายที่จะให้คุณค่า แต่ทักษะเหล่านี้ไม่ได้รับการฝึกฝนหรือสนับสนุนอย่างเป็นจริงเป็นจัง การให้คุณค่าจึงเป็นเพียงคำสวยหรูที่ใช้ในการรณรงค์ให้ดูดีไปตามกระแสแฟชั่นของการพัฒนาองค์กร เช่น องค์กรเรียนรู้ การจัดการความรู้ หรือความเป็นธุรกิจที่รับผิดชอบต่อสังคม (CSR) เป็นต้น

ทุกวันนี้ ผู้นำองค์กรของเรายังคงตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของความกลัวที่ถูกปลูกฝังมาตั้งแต่วัยเยาว์ แม้ว่าศักยภาพด้านอื่นในการเป็นผู้นำได้รับการพัฒนามาไม่น้อยแล้วก็ตาม ความกลัวที่ว่าฝังรากลึกในจิตใจของมนุษย์ทุกคนที่ผ่านระบบการเลี้ยงดูแบบโรงเรียนและโรงเรือน นั่นคือ "การกลัวเสียหน้า"

ผู้นำองค์กรไม่สามารถสร้างองค์กรให้เรียนรู้ได้ หากยังไม่สามารถจัดการกับอาการกลัวเสียหน้าของตัวเอง

เซ็งกี้กล่าวต่อไปว่า เวลาเราเป็นเด็ก การมีชีวิตในครอบครัว พวกเราส่วนใหญ่เรียนรู้ที่จะหลีกเลี่ยงการถูกตำหนิหรือถูกกล่าวโทษ เราเรียนรู้ที่จะเอาชนะในความขัดแย้ง ไม่มีคำว่าแพ้ และต้องรักษาภาพของการมีความสามารถในการจัดการและควบคุมสถานการณ์ได้ เด็กนักเรียนในโรงเรียนก็เรียนรู้ที่จะแสดงพฤติกรรมที่คุณครูประเมินว่าดี ตอบคำถามด้วยคำตอบที่ "ถูกต้อง" ไม่ใช่ตอบ "ผิดๆ"

และตั้งแต่เราเริ่มชีวิตการทำงาน เราก็ทุ่มเทชีวิตและใส่ใจต่อการดำเนินสภาพของการดูดีมีความสามารถนี้เรื่อยมา ดังที่อาร์กีรีสเขียนไว้ในบทความที่ทรงพลังใน Harvard Business Review ปี 1991 ว่า "โดยเฉพาะคนฉลาดนั่นแหละที่เรียนยาก ไม่ใช่เป็นเพราะพวกเขารู้ไปหมดแล้ว แต่เป็นเพราะพวกเขาได้ลงทุนไปมากโขในการรักษาภาพว่าพวกเขาไม่จำเป็นต้องเรียนอะไรมาก"

บรรดาเจ้านายทั้งหลายมักกลัวการยอมรับความไม่แน่นอนหรือไม่มั่นใจ เพราะอาจทำให้พวกเขาสูญเสียความน่าเชื่อถือ พอๆ กับพวกลูกน้องทั้งหลายที่ไม่กล้ายอมรับว่า พวกเขาไม่สามารถควบคุมและดำเนินภารกิจที่พวกเขารับผิดชอบอยู่ได้จริงๆ

การสร้างวัฒนธรรมการเรียนรู้หรือนิสัยใคร่รู้นั้น จำต้องสร้างในทุกช่วงของชีวิต ตั้งแต่วัยเรียนและวัยทำงานในองค์กร เพราะนิสัยการเป็นนักเรียนที่ได้รับการปลูกฝังในระบบการศึกษานั้นส่งเสริมแต่วงจรการเรียนรู้แบบปิด นั่นคือ การหา "คำตอบที่ถูกต้อง" เพื่อให้ได้รับคะแนนและการยอมรับชื่นชม และหลีกเลี่ยงการตอบที่ "ผิด" หรือคำตอบที่ "โง่ๆ"

ทรรศนะและการปฏิบัติเช่นนี้ ได้รับการสั่งสมจนกลายเป็นวัฒนธรรมการเรียนรู้ที่จำกัด เพราะมุ่งเน้นการเอาตัวรอดและการรักษาภาพลักษณ์ที่ดูดี มากกว่าการเป็นนักเรียนรู้ที่จริงใจกับกระบวนการเรียนรู้และการแสดงออก

ทั้งๆ ที่ชีวิตเป็นระบบที่ซับซ้อนและเต็มไปด้วยความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นการลองผิดลองถูกเป็นธรรมชาติการเรียนรู้ของชีวิต "ความไม่รู้" และคำถามจึงเป็นประตูเปิดไปสู่การเรียนรู้ของชีวิต (วงจรการเรียนรู้แบบเปิด) กระบวนกรจะทำอย่างไรเพื่อส่งเสริมวงจรการเรียนรู้แบบเปิด มากกว่าวงจรปิดแบบเอาตัวรอดและดูดี

ทำอย่างไรที่กระบวนกรจะช่วยถอดถอน "วิธีการเรียนรู้แบบปิด" (Deschooling Process) และสร้างสรรค์บรรยากาศและความสัมพันธ์ที่เอื้อต่อ "วิธีการเรียนรู้แบบเปิด" (Recreate Learning Process) ซึ่งเริ่มจากการให้คุณค่าและส่งเสริมความรู้สึกภาคภูมิใจของผู้เรียนเป็นหลัก (Empowerment) ในฐานะของการเป็นองค์กรจัดการตัวเอง เลือกและรับผิดชอบในสิ่งที่ตัวเองเป็น

ยิ่งทำให้นึกถึงแนวคิดของ เปาโล แฟร์ นักการศึกษาและนักปฏิวัติการเรียนรู้ชาวบราซิล ที่ให้คุณค่ากับชีวิตและประสบการณ์ตรงของชีวิต เขาเป็นคนหนึ่งที่ช่วยให้แนวทางการเรียนรู้แบบเปิดกลับมาเห็นความสำคัญของการทำงานปรับเปลี่ยนความสัมพันธ์เชิงอำนาจระหว่างผู้สอนและผู้เรียน

เพราะเมื่อความสัมพันธ์เชิงอำนาจเป็นแบบแนวดิ่ง ไม่ว่าจะเป็นอำนาจที่มาจากตำแหน่งหน้าที่การงาน สถานภาพทางสังคม หรือความเป็นผู้เชี่ยวชาญ และผูกมัดทางความรู้ ล้วนสร้างกรงกรอบพันธนาการการเรียนรู้ของสังคมและองค์กรไว้ กดทับและจำกัดศักยภาพของมนุษย์ในการมีส่วนร่วมสืบค้นและสร้างสรรค์ทางออกที่เหมาะสมให้กับตัวเอง

ดังนั้น ความรับผิดชอบต่อการเปลี่ยนแปลงและสร้างวัฒนธรรมที่ส่งเสริมจิตวิญญาณมนุษย์นั้น ไม่ได้ขึ้นกับผู้เชี่ยวชาญ หรือกับกระบวนการและเครื่องไม้เครื่องมือที่ดูวิเศษพิสดารแต่ประการใด

แต่ขึ้นอยู่กับว่า ผู้นำและผู้คนในองค์กรจะเอาจริงกับการเปลี่ยนแปลงตัวเองขนาดไหนมากกว่า

หมายเหตุ : จากบทความ "Taking personal change seriously:The impact of Organizational Learning on management practice"

หน้า 9






All site contents copyright © by Matichon Public Co.,Ltd. All Rights Reserved.

Saturday, April 4




Hosting as an Art

If the group is an art form of the future, then convening groups is an artistry we must cultivate to fully harvest the promise of the future.
- Jacob Needleman, Centered on the Edge


What is the Art of Hosting ? - videos on ArtofHostingTV.net

It is a pattern and a practice that allows us to meet our humanity in ourselves and in each other - as opposed to trying to be machines meeting.

The Art of Hosting training is an experience for deepening competency and confidence in hosting group processes - circle, world café and open space and other forms.

Each of these processes generates connection and releases wisdom within groups of people. They foster synergy and provide ways for people to participate in intention, design, and outcomes/decisions/actions.

The experience is hosted by a team of facilitators who are skilled/trained in at least one, if not all of these processes; and the experience is aimed at people who want to serve as conversational hosts in their work, community, and personal lives.


What could conversations also be, if I hosted them with wisdom, focus, balance and courage ?

Our work is inspired by what happens when people are hosted to gather with the intention of learning and evolving their personal, work and living practices together with others.

We have noticed that the principles of self-organisation, participation and non-linearity are key to both individual and collective learning and discovery.

This is both different and complimentary to more traditional ways of working, which are primarily based on rational planning mechanisms and which often aim at establishing control in order to manage outcomes.

We are, therefore, particularly inspired by what takes place on the edge of chaos with just enough order – the chaordic field, - formed by borrowing the first syllable of the two words.

It is here that learning and innovation takes place so that radical change and wise actions can be discovered. It is also here that we can turn to one another to invite collective intelligence and creative solutions to emerge.


This approach is particularly important in the “pre-ject”- phase, where the desired future - or a common goal – is not clear or shared.

Once we have a shared picture of a desired future we will move into the “project” - phase, which is goal and action oriented.

A dance as subtle and new as that is an Art and needs to be designed and hosted with consciousness, clarity and courage.

Conversation comes from the Latin con versare:
To turn or to dance together



What are some essentials that help us to have meaningful conversations about the things that we most care about?

* live now what future you want to create

* be in the present


* do not host it alone - be a good team of hosts


* focus on questions that matters

* go into conversation about what really matters by listening deeply to each other - beyond the words


* allow all voices to be heard so the collective intelligence can surface


* co host a good process that allows everyone to learn about themselves - each other and the purpose

* harvest good essences

* do not act before clarity and wisdom have come

* do not fear chaos - it is creative space where the new order can be born

* go through your fear however it manifests


from http://www.artofhosting.org/theart/